Re-entrant tuning
ถ้าพูดถึงเอกลักษณ์ของอูคูเลเล่ นอกจากเรื่องของขนาดตัวที่เล็กกระทัดรัด และจำนวนสายที่ที่มีเพียงสี่สายแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่คงจะไม่พูดถึงไม่ได้ ก็คือเรื่องของการตั้งสายที่ค่อนข้างจะแปลกไปกว่าเครื่องสายชนิดอื่นๆ ที่เราคุ้นเคย
ในเครื่องสายที่ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน การตั้งสายนั้น ล้วนตั้งไล่เรียงกันจากต่ำไปหาสูงกันเป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับอูคูเลเล่ และเครื่องสายพื้นบ้านบางชนิด กลับมีวิธีการตั้งสายที่เรียกกันว่า Reentrant กล่าวคือในการตั้งสายนั้น จะไม่ได้เรียงลำดับจากเสียงต่ำไปยังเสียงสูงอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่จะเรียงสลับกัน ไม่ขึ้นต้นสายบนสุดด้วยสายเสียงต่ำไล่เรียงกันมา อย่างในกรณีของอูคูเลเล่ ก็จะเรียงจากโน้ต G(สูง) ไป C ไป E ไป A ตามลำดับ (รูปตัวอย่าง) แบบที่คนอูคูเลเล่ ออกเสียงตัวโน๊ตในการตั้งสายว่า My Dog Has Fleas เพื่อง่ายในการจดจำ

แล้วทำไมต้อง Re-entrant tuning?
สำหรับเรื่องนี้หมู่คนเล่นอูคูเลเล่มีได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง เกิดเป็นข้อสันนิษฐานต่างๆ ขึ้นมาส่วนมากก็มักจะเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นเพราะการตั้งสายแบบนี้ทำให้เกิดเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของอูคูเลเล่ เวลาสตรัมมิ่งก็จะเกิดเสียงประสานที่มีความสดใสเป็นประกาย เวลาเล่นเมโลดี้ ก็สามารถที่จะใช้สายบนสุดที่เป็นสายเสียงสูงเล่นสลับกับสายข้างล่างได้ ทำให้เกิดสุ้มเสียงเฉพาะตัว (โดยเฉพาะกรเล่นในแนว Ragtime)
แต่มีอีกข้อเสนอหนึ่งซึ่งน่าสนใจไม่น้อย กล่าวคือ ในโลกของเครื่องสายโบราณ สายที่ใช้ นั้นเป็นสาย Gut ที่ทำมาจากไส้สัตว์ และด้วยลักษณะของวัสดุ ประกอบกับเทคนิคการผลิตที่เพิ่งเริ่มต้น ทำให้สายที่ผลิตออกมามีขนาดไม่แตกต่างกันมาก ส่งผลให้เครื่องสายในสมัยโบราณนิยมตั้งสายแบบ Reentrant tuning และอูคูเลเล่ ก็ได้รับค่านิยมการตั้งสายแบบนั้นสืบทอดมาด้วย

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าอู
ในภาพประกอบ ด้านซ้ายมือคือการใช้สายแบบ Low G จะเห็นว่าสายบนสุดมีขนาดหนากว่าสายถัดลงมา เนื่องจากเป็นสายที่ให้เสียงจีต่ำ ในขณะเดียวกันภาพทางขวาคืออูคูเลเล่ที่ใช้สายแบบ High G จะมีขนาดบางกว่าสายด้านล่างเนื่องจากให้เสียงจีสูง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอูคูเลเล่